• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

กองทุนช่วยลดภาษีให้คุณได้ (Mutual Funds)

Post Title
19 ก.พ. 2562
ใกล้จะสิ้นปีแล้ว หลายคนกำลังวางโปรแกรมว่าไปเที่ยวช่วงสิ้นปีนี้ที่ไหนดี บางคนตั้งใจจะเอาเงินโบนัสที่ได้ไปดาวน์บ้าน ดาว์นรถ หรือซื้อของขวัญให้คนรัก แค่นึกถึงผมว่าก็มีความความสุขแล้วใช่ไหมครับ แต่เดี๋ยวก่อน! รู้ตัวกันหรือเปล่าครับว่า เงินที่คุณกำลังจะใช้นี้ต้องแบ่งไว้สำหรับเสียภาษีในปีหน้าด้วย

เฮ้ย ลืมไปเลย วางแผนใช้จนไม่เหลือสักบาทแล้วเนี่ย!!! คงมีคนอุทาน

ใช่ครับ เพราะเงินเดือน โบนัส หรือผลประโยชน์ที่คุณหามาได้จะต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งแต่ละคนเสียไม่เท่ากัน มากน้อยตามแต่ฐานภาษีที่บุคคลนั้นๆไปตก โดยเสียสูงสุดถึง 35%

หมายความว่าถ้าคุณหาเงินมาได้เพิ่ม 1,000,000 ล้านบาท คุณมีโอกาสเสียภาษีสูงสุดถึง 350,000 บาท!!!  นึกๆดูแล้วอาจทำให้คุณอยากจะยกเลิกโปรแกรมที่วางไว้เลยใช่มั้ยครับ

ถ้าอย่างนั้นวันนี้ลองศึกษาโปรแกรมลดหย่อนภาษีที่ผมจะแนะนำดีกว่า เพราะนอกจากคุณจะเสียภาษีน้อยลงแล้ว คุณจะมีเงินเก็บไว้ไปวางแผนทำอะไรอื่นๆในอนาคตได้มากขึ้นด้วย

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำในวันนี้ก็คือ โปรแกรมกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีนั่นเอง ซึ่งกองทุนนี้มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  ได้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือที่พูดติดปากกันว่า LTF และอีกกองทุนคือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า RMF เรามาดูกันก่อนครับว่าแต่ละกองทุนมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-Term Equity Fund : LTF) อย่างที่ชื่อมันบอกอยู่แล้วนะครับว่า “กองทุนหุ้น” เพราะฉะนั้น นโยบายการลงทุนจึงเน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก โดยจะต้องลงทุนเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม เพื่อให้เข้าใจง่ายๆเลย สมมติกองทุนมีขนาด 1,000 ล้านบาท ผู้จัดการกองทุนจะต้องนำเงินไปลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 650 ล้านบาทนั่นเอง ส่วนที่เหลืออาจจะไปลงทุนในเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้เอกชน ตามแต่ที่นโยบายกองทุนกำหนดไว้ เพราะฉะนั้นกองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงหลักๆเลยคือความผันผวนของราคาหุ้น  ยิ่งมีสัดส่วนหุ้นมากเท่าไรก็จะยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับเงื่อนไขในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับ LTF สามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ

  • สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท เช่น ถ้าคุณมีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท หมายความว่าคุณมีสิทธินำเงินที่ลงทุนในกองทุน LTF ในปีนั้นได้ 90,000 บาท  แต่ถ้าคุณมีรายได้ตลอดทั้งปี 5,000,000 บาท คุณจะมีสิทธิลดหย่อนจาก LTF ได้เพียง 500,000 บาทเท่านั้น 
  • ต้องลงทุนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน จุดเด่นที่คนสนใจลงทุนใน LTF กันมากเพราะคำว่าปีปฏิทิน ทำให้เราสามารถลงทุนใน LTF เพียงประมาณ 5 ปีกับอีกใม่กี่วันก็จะสามารถขายกองทุนและนำเงินมาใช้ได้ โดยซื้อ ณ ปลายปีที่ 1 แล้วไปขายตอนต้นปีที่ 7 นั่นเอง
ทราบรายละเอียดคร่าวๆของ LTF กันไปแล้ว มาดูอีกกองทุนกันต่อ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน RMF คือเพื่อเป็น เงินออมสำหรับใช้ในยามเกษียณอายุ ทำให้เงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีจึงมากกว่ากองทุน LTF แต่ RMF มีความยืดหยุ่นในเรื่องของนโยบายการลงทุนหลากหลายกว่า ไม่จำเป็นต้องเน้นลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ใครที่ไม่ชอบความเสี่ยงก็สามารถเลือก RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ หรือถ้าชอบแบบเสี่ยงมากๆ อาจจะเลือกนโยบายลงทุนในทองคำ ลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้

เงื่อนไขการลงทุนของ RMF คล้ายกับ LTF   แต่มีเพิ่มเติมนิดหน่อย

  • สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท โดยจะต้องลงทุนเป็นจำนวนอย่างน้อย 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าค่าไหนจะต่ำกว่า 
  • ต้องลงทุนต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีบัญชี และถือจนครบอายุ 55 ปี บริบูรณ์จึงจะขายได้ ทั้งนี้ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน  ตรงนี้จะเห็นว่าเป็นปีบัญชี คือจะต้องถือแบบปีชนปี ไม่เหมือนกับ LTF ที่ระบุว่าปีปฏิทินที่ซื้อปลายปีแรก แล้วขายออก ณ ต้นปีที่ 5
เข้าใจรายละเอียดคร่าวๆไปแล้วมาดูการทำงานของกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้กัน ว่ากองทุนทั้งสองประเภทนี้จะช่วยลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

สมมติผมมีรายได้จากเงินเดือนปี 2557 จำนวน 600,000 บาท โบนัส 6 เดือน รวมแล้วมีรายได้ทั้งปีเท่ากับ 900,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนส่วนตัว ผมจะเสียภาษีสำหรับปี 2557 ประมาณ 77,000 บาท (ดูตามตาราง)

แต่ถ้าผมซื้อ LTF เต็มสิทธิ์ที่ผมสามารถซื้อได้หรือ 15% ของรายได้ทั้งปี ซึ่งเท่ากับ 135,000 บาท  ผมจะเสียภาษีจำนวน 54,750 บาท เสียภาษีลดลง 23,250 บาท และถ้าผมซื้อ LTF และ RMF เต็มสิทธิ์ทั้ง 2 ทุนเลย คิดเป็นเงินลงทุน 270,000 บาท ผมจะเหลือภาษีที่ผมเสียเพียง 33,250  บาทเท่านั้น ภาษีที่ผมต้องเสียหายไปถึง 43,500 บาท

เห็นถึงประโยชน์ของ LTF และ RMF หรือยังครับ เริ่มอยากลงทุนแล้วใช่มั้ย  แต่ผมขอเตือนนะครับว่าเงินที่ลงทุนในทั้งสองกองทุนนี้จะต้องเป็นเงินเย็นจริงๆ เพราะหากคุณทำผิดเงื่อนไขแล้ว นอกจากจะโดนเรียกภาษีคืนย้อนหลังแล้วถ้าคืนภาษีช้า ยังถูกเบี้ยปรับอีก แถมกำไรที่ได้จากการลงทุนก็ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี โดนหลายชั้นเลยครับ เอาอย่างนี้ ถ้าสนใจแนะนำให้ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลกันได้ที่ #krungsri ซึ่งในนี้มีทั้งรายละเอียดกองทุน LTF และ RMF ที่น่าสนใจ รวมถึงเงื่อนไขของการใช้สิทธิลดหย่อน จะได้ลงทุนกันอย่างสบายใจ

หลังจากอ่านโปรแกรมกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีนี้ไปแล้วคุณคิดวางแผนใช้เงินก้อนดังกล่าวนี้ทำอะไร แบ่งเงินมาสักนิดเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีดีมั้ยครับ หรือจะเอาไปเที่ยว ซื้อของ แล้วปีหน้าค่อยหาเงินมาจ่ายภาษีดีครับ



http://www.krungsri.com/bank/th/Planyourmoney/Calculators/Preliminarytaxcalculator.html

Tweet

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.