• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง LTF และ RMF

23 ม.ค. 2560
จากที่มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร 

ซึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อ LTF และ RMF

มีการเปลี่ยนกฏเกณฑ์จากเดิม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณสิทธิในการซื้อ LTF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี
กฏเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไป คือการระบุข้อความว่า
สามารถใช้สิทธิซื้อ LTF และ RMF โดยคำนวณจาก

"เงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี"

หลายท่านอาจจะสงสัยกับข้อความในประกาศ
ว่ามันจะกระทบกับกรณีไหน
เพราะทุกวันนี้ก็ยื่นภาษีปกติ 
เงินได้พึงประเมินก็ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้อยู่แล้ว

กรณีที่มีผลกระทบ เท่าที่เห็นได้ชัดคือ

มีเงินได้พึงประเมินบางอย่างที่เป็น "เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี" 
แต่ต้องยื่นในแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานะครับ

เช่น ส่วนต่างกำไรของหน่วยลงทุนจากกองทุน 
เวลาที่ท่านขายหน่วยลงทุนออกมาแล้วมีกำไร
เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี 
แต่ต้องยื่นแบบ ภงด.90 เป็นเงินได้พึงประเมินในมาตรา 40(8)
(รวมไปถึงกองทุน LTF RMF ส่วนที่มีการขายออกมาตรงตามกฏเกณฑ์และมีกำไรจากมูลค่าหน่วยลงทุน)

ที่ผ่านมา เมื่อมีการยื่นเป็นเงินได้พึงประเมินใน ภงด.90 
แต่เงินได้ส่วนนี้ไม่ถูกรวมในการคำนวณภาษี
แต่ผู้เสียภาษีมีการนำไปคิดเป็นฐานในการคำนวณการซื้อกองทุน LTF และ RMF
ทำให้สามารถซื้อ LTF และ RMF ได้มากขึ้นจากเงินได้พึงประเมินที่ใช้ในการคำนวณภาษีจริงๆ

ตัวอย่างเช่น กรณีซื้อ LTF

เงินได้จากเงินเดือน 1,000,000 บาท
ส่วนต่างกำไรจากมูลค่าหน่วยลงทุน 500,000 บาท
เงินได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน แล้วนำไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าคือส่วน 1,000,000 บาทเท่านั้น
เพราะส่วนต่างกำไรจากกองทุน 500,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
แต่มีเวลาคำนวณสิทธิในการซื้อ LTF 
กลับคำนวณจากเงินได้พึงประเมิน 1,500,000 บาท 
ซื้อ LTF ไม่เกิน 15% คือ 225,000 บาท

การแก้ไขนี้ จึงเป็นการทำเพื่อไม่ให้นำเงินได้พึงประเมินในส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษี แต่มีการยื่นใน ภงด.90
มารวมเป็นฐานในการคำนวณสิทธิในการซื้อกองทุน LTF และ RMF เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี

จากกรณีตัวอย่าง จะทำให้การคำนวณสิทธิในการซื้อ LTF
จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมิน 1,000,000 บาท
ซื้อ LTF ไม่เกิน 15% คือ 150,000 บาท

ทำให้สิทธิการซื้อ LTF และ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีจะลดน้อยลงจากวิธีที่ผู้เสียภาษีใช้ในการคำนวณสิทธิซื้อ LTF และ RMF ที่ผ่านๆมาครับ

Tweet

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.