• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

รู้จักสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

23 ม.ค. 2560
“สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ซึ่งเราอาจรู้จักกันในนาม “สิทธิ 30 บาท” หรือ “สิทธิบัตรทอง” 

เป็นหลักประกันที่บริหารโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 
มุ่งเน้นให้บริการกับประชาชนที่มีสัญชาติไทยและมีเลขบัตรประชน 13 หลัก ซึ่งไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ สิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ สิทธิประกันสังคม และสิทธิอื่นๆจากรัฐ ให้ได้รับบริการในด้านสาธารณสุข ป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อความจำเป็นในการดำรงชีพ 
และผู้ที่มีสิทธิสวัสดิการอื่นๆจากรัฐในข้างต้น ก็ยังสามารถรับบริการบางประเภทจากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิเดิมที่มีได้ด้วยเช่นกัน

การลงทะเบียนใช้สิทธิสามารถทำได้เลยหากท่านแน่ใจว่าท่านไม่ได้รับสิทธิอื่นๆโดยรัฐ
 โดยใช้สำเนาบัตรประชาชนไปติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตที่เปิดรับลงทะเบียน 30 แห่ง 
ในกรณีที่อยู่ต่างจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร ท่านก็สามารถไปขอลงทะเบียนที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านท่าน สถานีอนามัย หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก็ได้เช่นกัน 
เด็กแรกเกิดก็สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ในกรณีที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากบิดามารดา เช่นสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยใช้สูติบัตรเป็นเอกสารที่ใช้ลงทะเบียนแทนบัตรประชาชน

การไปใช้สิทธิในกรณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ หรือจะมีการส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่อง 
ให้ท่านยื่นบัตรประชาชน (หรือใบสูติบัตรกรณีที่เป็นเด็กซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน) และแจ้งความจำนงขอใช้สิทธิกับสถานพยาบาลที่ร่วมโครงการ 
ในกรณีเจ็บป่วยทั่วไปให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการประจำที่ระบุไว้ตามสิทธิของท่าน 
แต่หากเป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ท่านสามารถเข้าใช้บริการในโรงพยาบาลใดๆก็ได้ จากนั้นเมื่อท่านได้รับการรักษาจนพ้นวิกฤตก็จะถูกส่งตัวเพื่อรักษาต่อในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีทั้งสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองและสิทธิที่ไม่ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นกันดังนี้

#สิทธิที่ได้รับความคุ้มครอง 
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
บริการทันตกรรม
การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค ทั้งโรคทั่วไป / เรื้อรัง
ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ 
ค่าอาหารและค่าห้องระหว่างรักษาตัว
การจัดการส่งต่อเพื่อรักษาระหว่างหน่วยบริการ
บริการแพทย์แผนไทย ยาสมุนไพร การนวดเพื่อฟื้นฟู
บริการฟื้นฟูสรรถภาพคนพิการ

#สิทธิที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การรักษาภาวะมีบุตรยาก / ผสมเทียม
การเปลี่ยนเพศ หรือการบริการเพื่อความสวยความงาม
การตรวจใดๆที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การรักษาที่อยู่ระหว่างค้นคว้าทดลอง
กรณีประสบภัยจากรถ ในส่วนที่กองทุนตามกฎหมายต้องจ่าย
การบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
โรคเดียวกันที่รักษาตัวเกิน 180 วัน ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การปลูกถ่ายอวัยวะ ยกเว้นการรักษาไตวาย ตับในเด็ก เปลี่ยนหัวใจ

ท่านสามารถตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลได้โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ สปสช. หรือโทรสายด่วน สปสช. 1330 ได้เช่นกัน เพื่อความสะดวกในการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนคนไทยไม่ควรละเลยครับ
Tweet

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.