• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและการวางแผนการลงทุน

Post Title
21 มิ.ย. 2561
การ ลงทุน เป็นกระบวนการที่ผู้ลงทุน นำเงินที่ชะลอจากการใช้จ่ายในวันนี้ไปลงทุน
โดยมุ่งหวังเพื่อให้ได้รับกระแสเงินสดจากการลงทุนนั้นๆ
และ/หรือมุ่งหวังให้หลักทรัพย์ที่ได้ลงทุนไปมีมูลค่าสูงขึ้น

เพื่อ

  • ให้คุ้มกับต้นทุนค่าเสียโอกาสที่มิได้ใช้จ่ายเงินในวันนี้
  • ชดเชยอำนาจซื้อที่สูญเสียไปเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ
  • ชดเชยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน

การ วางแผนการลงทุน เป็นกระบวนการของการ กำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการลงทุน

เพื่อ

ให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนบรรลุตามเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้
ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการวางแผนการลงทุน มี 6 ขั้นตอน

1) รวบรวมข้อมูลและประเมินเป้าหมาย ของผู้ลงทุน

2) วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัด ในการลงทุนของผู้ลงทุน

3) ออกแบบพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม กับผู้ลงทุน

4) จัดทำนโยบายการลงทุน

5) ลงทุนตามนโยบายการลงทุน

6) ติดตามและวัดผล การลงทุน

รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมข้อมูลและประเมินเป้าหมาย

ข้อมูลประกอบไปด้วย

1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ


เป้าหมายและวัตถุประสงค์การลงทุน

แบ่งตามระยะเวลาการลงทุน

  • ระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) เช่น ความต้องการเงินสภาพคล่องไว้สำหรับใช้จ่าย ความต้องการเงินฉุกเฉิน ความต้องการเงินดาวน์สำหรับซื้อรถยนต์คันใหม่
  • ระยะปานกลาง (3 ปี - 7 ปี) เช่น ความต้องการเงินเพื่อเป็นเงินทุนการศึกษาบุตร ความต้องการเงินดาวน์สำหรับซื้อบ้าน
  • ระยะยาว (มากกว่า 7 ปี) เช่น ความต้องการเงินทุนสำหรับการเกษียณอายุ

แบ่งตามผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจากการลงทุน

  • เพื่อ ความปลอดภัย ของเงินลงทุน มีเป้าหมายการลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าเงินเฟ้อ
  • เพิ่มมูลค่า ของเงินลงทุน 
  • เสถียรภาพของ รายได้ ต้องการกระแสเงินสดรับเข้ามาแน่นอนเป็นประจำสม่ำเสมอ อาจอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ยรับ และเงินปันผล
  • ผลตอบแทนรวม เป็นการลงทุนผสมกันหลายวัตถุประสงค์
  • ผลประโยชน์ทางภาษี เช่น การลงทุนในกองทุน RMF และ LTF

ระดับความสำคัญของเป้าหมาย

  • สำคัญมาก
  • ปานกลาง เช่น ต้องการปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ หรือ ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2
  • สำคัญน้อย เช่นต้องการมีเงินทุนสำหรับการเดินทางเที่ยวรอบโลก

ข้อจำกัดการลงทุน
เช่น ผู้รับคำปรึกษาบางคนต้องการลงทุนในตราสารความเสี่ยงสูง เช่น อนุพันธ์ หรือ ต้องการระดับสภาพคล่อง ระยะเวลาการลงทุน ที่แตกต่างกัน

ช่วงอายุ

ข้อมูลอื่นๆ
เช่น

  • หลักเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงาน
  • แนวทางในการปรับสัดส่วนเงินลงทุนในระยะสั้นเมื่อปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลง
  • วิธีคำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง

นักวางแผนการเงินต้องสามารถอธิบายและตัดสินใจกับผู้รับคำปรึกษาเนื่องจากอาจจะเป็นสิ่งที่ยากต่อการทำความเข้าใจ แต่ผู้ที่ทำการตัดสินใจควรจะเป็นผู้รับคำปรึกษา

2. ข้อมูลเชิงปริมาณ

สถานะการเงิน ได้แก่

  • ความพร้อมการลงทุน
  • สภาพคล่อง
  • ภาระหนี้สิน
  • ความมั่งคั่ง
  • พฤติกรรมการใช้จ่าย

สถานะพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน

อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ เช่น

ต้องการมีเงินจำนวน 200,000 บาท ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้นจำนวน 100,000 บาท อัตราผลตอบแทนที่ต้องการคือเท่าใด
นักวางแผนการเงินควรคำนวณได้โดยใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน


ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัดในการลงทุน

ต้องประเมินทั้งระดับ ความยินดีในการลงทุน (Willingness to take risk) และระดับ ความสามารถในการรับความเสี่ยง (Ability to take risk)

ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบพอร์ตการลงทุน ให้เหมาะสมกับผู้รับคำปรึกษา

นักวางแผนการเงินต้องออกแบบพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับ Risk Tolerance และข้อจำกัดในการลงทุนของผู้รับคำปรึกษา
แนวทางการกำหนดสัดส่วนการลงทุนตามระดับ Risk Tolerance ของ TSI มีดังนี้




ในทางปฏิบัติ การกำหนดสัดส่วนเงินลงทุน นักวางแผนการเงินจะต้องเป็นผู้นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด แต่ควรจะให้ผู้รับคำปรึกษาเป็นผู้ตัดสินใจเลือกทางเลือกการลงทุนเอง

ขั้นตอนที่ 4 จัดทำนโยบายการลงทุน

ใช้เป็นกรอบหรือแนวทางให้กับผู้จัดการเงินลงทุนใช้เป็นเกณฑ์ ในการดำเนินการลงทุนให้ หรือจัดเตรียมไว้ให้กับผู้รับคำปรึกษาในกรณีที่ผู้รับคำปรึกษาสามารถลงทุนได้เอง

รายละเอียดครอบคลุม ข้อมูลทั่วไป, เป้าหมายการลงทุน, ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้, แนวทางการจัดสรรเงินลงทุน, แนวทางการวัดผลการดำเนินงาน, แนวทางการปรับสัดส่วนเงินลงทุนในระยะสั้น

ขั้นตอนที่ 5 ลงทุนตามนโยบายการลงทุน 

ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการลงทุนเพื่อดำเนินการลงทุนตามนโยบายการลงทุนของแต่ละเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่แนวทางการปรับพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน แนวทางการเลือกผู้จัดการลงทุน แนวทางในการติดตามและวัดผลการลงทุน

ขั้นตอนที่ 6 ติดตามและวัดผล 

อาจกำหนดเป็น รายเดือน รายไตรมาส ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็ได้ (อย่างน้อยควรมีการทบทวนทุกปี)

บทบาทหน้าที่ของนักวางแผนการเงินกับการวางแผนการลงทุน

  • มีส่วน ร่วมกำหนดเป้าหมายการลงทุน ของผู้รับคำปรึกษา
  • คำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ ที่ทำให้ผู้รับคำปรึกษาบรรลุเป้าหมายการลงทุน
  • วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัด
  • จัดสรรเงินลงทุนและกำหนดสัดส่วนเงินลงทุนที่สอดคล้อง
  • จัดทำและนำเสนอนโยบายการลงทุน
  • เขียนแผนปฏิบัติการ
  • ติดตามและประเมินผล การลงทุน

เรียบเรียงจาก
หนังสือหลักสูตรการวางแผนการเงิน : ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน

หัวข้อ 1.1

โดย ดร.ชาติชาย มีสุขโข CFP®
Tweet

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.