• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ IC Plain และ Complex

Post Title
19 ธ.ค. 2560
คำว่า IC Plain และ IC Complex จะมีผลบังคับใช้ในปี 2561 นะครับ แต่ก่อนอื่นผมขออนุญาตเล่าถึงใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน (IC) ก่อนการเปลี่ยนแปลงในปี 2561 เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้เข้าใจและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาก่อนได้สังเกตความแตกต่างและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ผู้แนะนำการลงทุน (Investment Consultant, IC) หมายถึง

ผู้ที่สามารถแนะนำ (ขาย) หลักทรัพย์ (ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุน) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ตราสารอนุพันธ์) ให้กับผู้ที่สนใจลงทุน (ซื้อ)

ผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน เช่น มาร์เก็ตติ้งหุ้น, พนักงานธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์ที่แนะนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวม, ตัวแทนประกันที่แนะนำประกันแบบควบการลงทุน ฯลฯ

ผู้แนะนำการลงทุน ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ ที่สำคัญจะมี 2 ประเภทคือ

ผู้แนะนำการลงทุน “ด้านหลักทรัพย์” คือ แนะนำ ตราสารทุน + ตราสารหนี้ + กองทุน ได้

ผู้แนะนำการลงทุน “ด้านตลาดทุน” คือ แนะนำ ตราสารทุน + ตราสารหนี้ + กองทุน + ตราสารอนุพันธ์ ได้

 

ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?



ผู้แนะนำการลงทุน (IC) จะถูกจัดแบ่งตาม ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่แนะนำได้

ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ จะถูกแบ่งเป็น

1) ผลิตภัณฑ์ ตราสารทั่วไป หมายถึง ตราสารทุน/หุ้น, กองทุนรวม และ ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะ “ไม่ซับซ้อน”

2) ผลิตภัณฑ์ ที่มีความเสี่ยงสูง หรือ มีความซับซ้อน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

     2.1) กองทุนรวม หรือ ตราสารหนี้ ที่มีลักษณะ “ซับซ้อน”

     2.2) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ตราสารอนุพันธ์)

 

ข้อสังเกต

ก่อนหน้านี้ หลักทรัพย์ ไม่ได้แบ่งประเภทว่า ซับซ้อน หรือ ไม่ซับซ้อน

ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป

ตราสารทุน/หุ้น จะถูกจัดว่าเป็น ตราสารทั่วไป ในข้อ 1) เท่านั้น

ขณะที่ กองทุนรวม และ ตราสารหนี้ จะแบ่งออกเป็น

กลุ่มที่มีลักษณะ “ไม่ซับซ้อน” ในข้อ 1) และ “ซับซ้อน” ในข้อ 2.1)

ส่วนเรื่องที่ว่า ซับซ้อนเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ดูที่ภาคผนวก ท้ายบทความนะครับ



เมื่อกำหนดลักษณะของผลิตภัณฑ์แล้ว มีการจัด IC เป็น 4 แบบ คือ

IC Plain สามารถแนะนำ ผลิตภัณฑ์ในข้อ 1) ได้

IC Complex 1 สามารถแนะนำ ผลิตภัณฑ์ใน ข้อ 1) และ 2.1) และ 2.2) ได้

IC Complex 2 สามารถแนะนำ ผลิตภัณฑ์ใน ข้อ 1) และ 2.1) ได้

IC Complex 3 สามารถแนะนำ ผลิตภัณฑ์ใน ข้อ 1) และ 2.2) ได้

 

ข้อสังเกต

IC Complex 1 คล้ายกับ IC ด้านตลาดทุน

IC Complex 2 คล้ายกับ IC ด้านตลาดหลักทรัพย์

เพียงแต่ว่า ตราสารหนี้ กับ กองทุนรวม จะมีการจัดแบ่งประเภทย่อยเป็นแบบไม่ซับซ้อนและซับซ้อน



คนที่ยังไม่มีใบอนุญาตใดๆ เมื่อเข้าปี 2561 แล้ว จะต้องสอบอะไรบ้าง?

 

ข้อสอบมี 3 ฉบับ คือ P1, P2, P3

มีรายละเอียดดังนี้

 

Plain Products: Full Paper (P1)

จำนวน 100 ข้อ ให้เวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ค่าสอบ 1,200 บาท

เนื้อหาประกอบด้วย

หมวดที่ 1 ความรู้พื้นฐาน                                                              30 ข้อ

หมวดที่ 2 กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและการให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม          20 ข้อ

หมวดที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การลงทุน: ตราสารทั่วไป                      50 ข้อ

เกณฑ์การสอบผ่าน 70% ของคะแนนรวม และ 70% ของหมวดที่ 2

 

Complex Products : Bond and Mutual Fund (P2)

จำนวน 25 ข้อ ให้เวลา 40 นาที ค่าสอบ 850 บาท

เนื้อหาประกอบด้วย

1) ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน                                     10 ข้อ

2) กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน                                   10 ข้อ

3) การให้คำแนะนำการลงทุน                                                             5 ข้อ

เกณฑ์การสอบผ่าน 70% ของคะแนนรวม

 

Complex Products : Derivatives (P3)

จำนวน 50 ข้อ ให้เวลา 80 นาที ค่าสอบ 950 บาท

เนื้อหาประกอบด้วย

1) ภาพรวมเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า                                                            12 ข้อ

2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาฟิวเจอร์                                                             20 ข้อ

3) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาออปชัน                                                              8 ข้อ

4) กลไกการซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า                                                   5 ข้อ

5) ลักษณะและเงื่อนไขของสินค้าในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า                                     5 ข้อ

เกณฑ์การสอบผ่าน 70% ของคะแนนรวม



ถ้าต้องการเป็น IC Plain (ตราสารทั่วไป)

ต้องสอบ P1

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 1 (ตราสารทั่วไป + ตราสารหนี้/กองทุน ซับซ้อน + ตราสารอนุพันธ์)

ต้องสอบ P1 + P2 + P3

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 2 (ตราสารทั่วไป + ตราสารหนี้/กองทุน ซับซ้อน)

ต้องสอบ P1 + P2

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 3 (ตราสารทั่วไป + ตราสารอนุพันธ์)

ต้องสอบ P1 + P3

 

คนที่มี IC อยู่แล้วจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?

 

ทบทวนกันก่อนว่า โครงสร้างใหม่เป็นอย่างไร (P1, P2, P3 คือข้อสอบ)

IC Plain = ตราสารทั่วไป (P1)

IC Complex 1 = ตราสารทั่วไป (P1) + ตราสารหนี้ กองทุน ซับซ้อน (P2) + ตราสารอนุพันธ์ (P3)

IC Complex 2 = ตราสารทั่วไป (P1) + ตราสารหนี้ กองทุน ซับซ้อน (P2)

IC Complex 3 = ตราสารทั่วไป (P1) + ตราสารอนุพันธ์ (P3)



ผู้ที่มี IC อยู่แล้ว เมื่อเข้าปี 2561

ผู้แนะนำการลงทุน “ด้านตลาดทุน” จะกลายเป็น IC Complex 1 ชั่วคราว

ถ้าต้องการเป็นแบบถาวร จะต้องเข้า อบรมหลักสูตรที่กำหนด 9 ชั่วโมง ภายในปี 2563

ผู้แนะนำการลงทุน “ด้านหลักทรัพย์” จะกลายเป็น IC Complex 2 ชั่วคราว

ถ้าต้องการเป็นแบบถาวร จะต้องเข้า อบรมหลักสูตรที่กำหนด 6 ชั่วโมง ภายในปี 2563

 

ถ้าไม่อบรมภายในปี 2563 ทั้งคู่จะกลายเป็น IC Plain

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 1 ต้องไปสอบ P2, P3 เพิ่มเติม

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 2 ต้องไปสอบ P2 เพิ่มเติม

ถ้าต้องการเป็น IC Complex 3 ต้องไปสอบ P3 เพิ่มเติม

 

ข้อสังเกต

คนที่มีใบอนุญาตเดิมอยู่แล้ว ถ้าไม่ต้องการสอบเพิ่ม ต้องเข้าอบรมให้ครบกำหนดภายในปี 2563



หวังว่าข้อมูลที่สรุปไว้ในบทความนี้จะสร้างความกระจ่างให้กับผู้ที่สนใจนะครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมอย่างไร สามารถติดต่อไปที่ CMSK Academy ได้ทาง

Fanpage: www.facebook.com/cmsktraining

Line ID: cmsktraining

 โทรศัพท์: 092-270-2115

 

ภาคผนวก

ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนตามที่ TSI ยกตัวอย่างในเอกสารเผยแพร่

กองทุนรวมซับซ้อน ได้แก่

High Yield Bond Fund, กองทุนรวม Complex Return, Hedge Fund, กองทุนรวมทองคำ/น้ำมัน ที่ไม่ได้ Track Spot, กองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน (exotic derivatives)

ตราสารหนี้ซับซ้อน ได้แก่

Perpetual Bond, Non-Investment Grade Bond, Unrated Bond, Hybrid Bond, ตราสาร Basel III, Structure Notes

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า(ตราสารอนุพันธ์) ได้แก่

Futures, Options, Swap

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.