• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโครงสร้างข้อสอบ Single License

Post Title
24 ม.ค. 2560

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ต้องทราบก็คือโครงสร้างของข้อสอบ ผมขอเล่าให้ฟังแบบสรุปแถมข้อแนะนำที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้ที่เตรียมสอบได้มีความพร้อมก่อนที่ลงสนามจริงกัน

ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ ให้เวลา 3 ชั่วโมง เมื่อคำนวณดูแล้ว ผู้เข้าสอบมีเวลาทำข้อสอบโดยเฉลี่ย ข้อละ 1 นาทีครึ่ง จากประสบการณ์ของผู้สอน เวลาที่กำหนดให้นั้นค่อนข้างพอดีๆ ถ้าเตรียมตัวไปพร้อม จะไม่มีปัญหาเรื่องทำไม่ทัน แต่กับคนบางกลุ่มอาจจะมีปัญหาว่าทำเร็วเกินไป บางคนใช้เวลาแค่ครึ่งเดียวคือชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แบบนี้ก็ถือว่าประมาทไปหน่อย ถ้ามีเวลาเหลือ ผมแนะนำให้ทบทวนคำตอบทุกข้อที่ทำไป เพราะว่าอาจจะมีข้อที่เราทำผิดพลาดเนื่องจากความเผลอเรอ ไม่รอบคอบ ก็เป็นได้

โครงสร้างข้อสอบ แบ่งเป็น 3 หมวด ผู้ที่สอบผ่านจะต้องผ่านเกณฑ์ 2 ข้อ คือ

1. ได้คะแนนทั้ง 3 หมวด รวม 84 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน

2. ได้คะแนนในหมวดที่ 2 ไม่น้อยกว่า 18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน

หมวดที่ 1 คือ ความรู้พื้นฐาน มี 35 ข้อ ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ

- ระบบการเงินและโครงสร้างตลาดการเงิน

- ตลาดการเงินระหว่างประเทศ

- ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์รายตัว

- ข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจในตลาดการเงิน

- การวิเคราะห์หลักทรัพย์

- การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์

- ภาพรวมของตราสารอนุพันธ์และตลาดอนุพันธ์

ซึ่งโดยสรุปแล้ว เนื้อหาในหมวดที่ 1 นั้น ต้องใช้การเรียนรู้แบบ เข้าใจ และมีส่วนของ การคำนวณ ด้วย

หมวดที่ 2 คือ กฎระเบียบที่เกี่ยวของและการใหคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม มี 25 ข้อ ประกอบไปด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ

- หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และการปฏิบัติของผู้แนะนำการลงทุน

- กฎหมายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และฟอกเงิน

- หลักเกณฑ์การกำกับดูแลการออกและเสนอขายตราสารประเภทต่างๆ

- การให้คำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม

จากที่กล่าวไปแล้ว ขอย้ำอีกครั้งว่า หมวดที่ 2 มีความพิเศษกว่าหมวดอื่นก็คือ เงื่อนไขของการสอบผ่านนั้น คะแนนของหมวดที่ 2 จะต้องได้ 18 ขึ้นไป จากทั้งหมด 25 ข้อ หมายถึง ทำผิดได้ไม่เกิน 7 ข้อเท่านั้น ถ้าได้คะแนนต่ำกว่า 18 คะแนน ในหมวดที่ 2 จะทำให้สอบไม่ผ่านทันที ไม่ว่าจะได้คะแนนรวมทั้ง 3 หมวด มากเท่าไหร่ก็ตาม

โดยสรุปแล้ว เนื้อหาในหมวดที่ 2 นั้น ต้องใช้ ความละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากต้องจดจำกฎระเบียบต่างๆ และยังต้องฝึกฝน การวิเคราะห์ เพราะว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้คำแนะนำที่เหมาะสมซึ่งต้องอาศัยความรู้พื้นฐานที่มีในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆของผู้ลงทุน

หมวดที่ 3 คือ ความรู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์ กฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหลักทรัพย์ มี 60 ข้อ ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับ

- ตราสารทุนและตลาดตราสารทุน

- ตราสารหนี้และตลาดตราสารหนี้

- กองทุนรวมและหน่วยลงทุน

เนื้อหาในหมวดที่ 3 นั้น ต้องใช้ การท่องจำ มากพอสมควร เพราะจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประเภทต่างๆมากมาย สำหรับคนที่ มีประสบการณ์ ในการลงทุนหรือต้องเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์เหล่านี้มาก่อน ก็จะพอช่วยได้

จะเห็นได้ว่า เนื้อหาและแนวทางการเรียนรู้ของทั้ง 3 หมวด มีความแตกต่างกัน ผู้สอบต้องมีความพร้อมในหลายๆด้าน บางคนอาจเชี่ยวชาญเรื่องการคำนวณ แต่ไม่มีประสบการณ์เรื่องการลงทุนหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ก็จะต้องมีการท่องจำเนื้อหาเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ ในทางตรงกันข้าม คนที่ไม่ถนัดคำนวณก็จะต้องฝึกฝน ทำโจทย์ปัญหา และท่องสูตรคำนวณใหได้

ขอให้ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบอยู่นำข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างข้อสอบไปใช้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ตามหลักการที่ใช้ได้มาทุกยุคทุกสมัยก็คือ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ครับ

ดร.ชาติชาย มีสุขโข (ดร.จ๊อบ)

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.