• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
      • CFP® Module 1
      • CFP® Module 2
      • CFP® Module 2 (หลักสูตรปรับปรุงใหม่)
      • CFP® Module 3
      • CFP® Module 4
      • CFP® Module 5
      • CFP® Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
      • CFP® Module 1
      • CFP® Module 2
      • CFP® Module 3
      • CFP® Module 4
      • CFP® Module 5
      • CFP® Module 6
    • E-Learning
      • E-Learning CFP
      • IC Plain (P1) E-Learning
      • IC Complex ฺBond/Fund (P2) E-Learning
      • IC Complex Derivative (P3) E-Learning
  • สมัครอบรม
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • คุณวุฒิ CFP® , AFPT ™
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
      • ตารางสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

แพทย์ควรวางแผนภาษีอย่างไร

23 ม.ค. 2560

ถ้าใครกำลังคิดเรื่องวางแผนการเงินของตัวเองแล้ว ต้องสนใจเรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้ครับ เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความมั่งคั่งของแต่ละบุคคลมากเลยทีเดียว

วันนี้ผมกำลังจะพูดถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเจาะลึกเป็นพิเศษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ครับ

แพทย์เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณค่าที่ชัดเจนต่อบุคคลอื่นและสังคม ส่งผลให้แพทย์ส่วนใหญ่มีรายได้ดี ถึงแม้ว่าแพทย์หลายท่านมักจะบ่นเปรยๆ ว่าต้องแลกกับการทำงานหนักมากก็ตาม เมื่อมีรายได้มากก็เป็นธรรมดาที่ต้องเสียภาษีมากครับ ผมเชื่อว่าแพทย์ทั้งหลายยินดีที่จะเสียภาษี แต่ถ้าประหยัดภาษีได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ

วันนี้เราจะมาพิจารณากันว่า ประเด็นที่จะมีผลต่อการเสียภาษีของแพทย์หลักๆ นั้นได้แก่อะไรบ้าง

ก่อนอื่นเราต้องพูดถึง การคำนวณภาษี แบบพื้นฐานก่อนครับ ภาระภาษีคำนวณจาก รายได้ หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ ซึ่งต่อไปนี้ผมขอเรียกคำที่เป็นทางการว่า “เงินได้สุทธิ” ครับ เงินได้สุทธิจะถูกนำมาคิดภาษีตามอัตราก้าวหน้า คือ ยิ่งเงินได้สุทธิสูง อัตราภาษีที่นำไปคำนวณจะยิ่งสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นการจะเสียภาษีมากหรือน้อย จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับเงินได้สุทธิ

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เสียภาษีลดลง คือ การทำให้เงินได้สุทธิลดลง ซึ่งการทำให้เงินได้สุทธิลดลงโดยที่รายได้ไม่ได้ลดลงด้วยนั้น ทำได้โดยการ “เพิ่มค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อน” ที่นำมาหักออกให้มีจำนวนมากขึ้น นั่นเองครับ

ประเด็นเรื่องค่าลดหย่อน เช่น คู่สมรส บุตร เบี้ยประกันชีวิต LTF RMF นั้น กรณีของแพทย์จะไม่แตกต่างกับคนอื่นทั่วไปครับ แต่เรื่องค่าใช้จ่ายนั้นมีประเด็นที่เราจะต้องดูรายละเอียดกัน

ประมวลรัษฎากร (ประมวลกฎหมายหลักเรื่องภาษี) กำหนดไว้ว่าค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักได้นั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ซึ่งมีทั้งหมด 8 ประเภท

ประเภทของเงินได้นี้ มีการบัญญัติอยู่ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40 โดย เงินได้ประเภทที่ 1 ก็จะอยู่ในมาตรา 40(1) และเรียงไปตามลำดับ จนถึง ประเภทที่ 8 คือ มาตรา 40(8)

ในที่นี้ผมขอพูดถึงเฉพาะประเภทเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เป็นหลักนะครับ

เงินได้ตามมาตรา 40(1) คือเงินได้จากการจ้างแรงงาน หรือเป็นเงินได้ที่ลูกจ้างได้จากนายจ้าง เช่น เงินเดือน เงินเวร เงิน พ.ต.ส. เบี้ยเลี้ยง

เงินได้ตามมาตรา 40(2) คือเงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ในกรณีนี้จะแตกต่างจากเงินได้ตามมาตรา 40(1) ตรงที่จะไม่มี นายจ้าง-ลูกจ้าง แต่จะมี ผู้ว่าจ้าง-ผู้รับจ้าง โดยผู้รับจ้างจะได้เงินจากผู้ว่าจ้างตามผลงานที่ทำสำเร็จ อาจจะเป็นในแง่ของปริมาณงานหรือเวลาก็ได้ครับ เช่น เงินได้จากการเข้าเวรที่โรงพยาบาลอื่น ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลที่ทำงานประจำอยู่

ในการคำนวณเงินได้สุทธิ แพทย์ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2) จะต้องนำเงินได้ทั้ง 2 ส่วนมารวมกัน แล้วหักค่าใช้จ่าย40% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ข้อสังเกตก็คือ แพทย์ที่มีรายได้ปีละหลายล้านบาท แต่ถ้าเป็นเงินได้ประเภท 40(1) และ 40(2) ก็หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดแค่ 60,000 บาทครับ ซึ่งจะมีผลให้ต้องเสียภาษีค่อนข้างสูง

นอกเหนือจาก 2 ประเภทนี้แล้ว เงินได้ของแพทย์สามารถจัดอยู่ในประเภทอื่นๆ ได้อีก และมีความแตกต่างในเรื่องของการหักค่าใช้จ่าย ตามนี้ครับ

เงินได้ตามมาตรา 40(6) คือเงินได้จากวิชาชีพอิสระ ที่ถูกกำหนดไว้พิเศษ ประกอบไปด้วย วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สภาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ซึ่งการประกอบวิชาชีพแพทย์อยู่ในกลุ่มการประกอบโรคศิลป์ เพราะฉะนั้น เงินได้ของแพทย์อาจจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) ได้ แต่ต้องเป็นลักษณะที่แพทย์นั้นได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ทางวิชาชีพแพทย์ ในการปฏิบัติงาน และแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาล ตามความยากง่ายของการรักษาอย่างอิสระ ค่าตอบแทนที่ได้รับจึงไม่แน่นอน และถ้าแพทย์ไม่ทำการรักษาก็จะไม่ได้รับค่าตอบแทน

เช่น เงินได้ของแพทย์ที่ทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับโรงพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลปะเป็นการส่วนตัว โดยรับตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่แพทย์ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่โรงพยาบาล หรือเงินได้ของแพทย์ที่เปิดสถานพยาบาลเป็นของตนเอง (เฉพาะที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน)

ในการคำนวณเงินได้สุทธิจากเงินได้ตามมาตรา 40(6) นี้ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจำเป็นและสมควรหรือหักแบบเหมาได้มากถึง 60% ของเงินได้ ซึ่งจะแตกต่างอย่างชัดเจนกับการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ประเภท 40(1) และ 40(2) ครับ

เงินได้ประเภทสุดท้าย มาตรา 40(8) เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ เช่น เงินได้จากการที่แพทย์เปิดสถานพยาบาลเป็นของตนเอง และมีเตียงสำหรับผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาพยาบาลค้างคืน ซึ่งเงินได้ตามมาตรา 40(8) นั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจำเป็นและสมควรหรือแบบเหมาได้มากถึง 75% มากที่สุดเทียบกับเงินได้ประเภทต่างๆที่กล่าวมา

จากเงินได้ทั้ง 4 ประเภท คือ 40(1), 40(2), 40(6), และ 40(8) สามารถสรุปได้ว่า ถ้าแพทย์ต้องการประหยัดภาษีที่สุด ต้องพยายาม “แปลงประเภทเงินได้” ให้เป็นประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด (75%) ซึ่งก็คือ 40(8) แต่ในทางปฏิบัติก็อาจจะไม่ครอบคลุมรายได้ทั้งหมดด้วยข้อจำกัดต่างๆ เช่น แพทย์ไม่ต้องการหรือไม่พร้อมที่จะเปิดสถานพยาบาลที่มีเตียงคนไข้ค้างคืน

เงินได้ส่วนอื่นๆ ของแพทย์จึงควรเป็นเงินได้เป็นประเภท 40(6) ซึ่งจะหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ยิ่งมีเงินได้มาก ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งต่างจากประเภท 40(1) และ 40(2) ที่รวมกันแล้วหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดเพียง 60,000 บาท เท่านั้น

ในส่วนของเงินได้ประเภท 40(1) นั้นอาจจะจำเป็นสำหรับแพทย์หลายๆท่าน เช่น แพทย์ที่มีเงินเดือนเนื่องจากเป็นข้าราชการ หรือกรณีที่แพทย์ต้องการจะรับเงินเดือนจากโรงพยาบาลเอกชนเป็นประจำ (เพื่อความมั่นคงของรายได้) ก็จะไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก

แต่สำหรับเงินได้เพิ่มเติมอื่นๆจากการตรวจรักษาโรคนั้น จะเป็นประเภท 40(2) และ 40(6) ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเงินได้จากการที่แพทย์ทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถเหมือนกัน และเป็นรายได้ที่ไม่ประจำเหมือนกัน เพราะฉะนั้น รายได้ที่เป็นการจ่ายให้แพทย์ตามความยากง่ายของการรักษานั้น แพทย์ควรเลือกรับให้เป็นเงินได้ประเภท 40(6) ทั้งสิ้น เพื่อเป็นการประหยัดภาษี

ยกเว้นในกรณีพิเศษบางกรณีเช่น แพทย์เป็นลูกจ้างประจำที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือน 40(1) และทำงานพิเศษที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง โดยมีสัญญาการได้รับรายได้ขั้นต่ำจำนวนหนึ่ง รายได้ขั้นต่ำนั้นจะไม่นับว่าเป็นเงินได้จากการรักษาผู้ป่วยของแพทย์ จึงไม่สามารถนับได้ว่าเป็นเงินได้ประเภท 40(6) อีกทั้งยังไม่นับว่าเป็นประเภท 40(1) เพราะแพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ จึงจำต้องถือว่าเป็นเงินได้ประเภท 40(2)

กรณีดังกล่าวนี้แพทย์ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เนื่องจากการสัญญาให้รายได้แพทย์แบบมีขั้นต่ำ ในกรณีที่มีผู้ป่วยมารักษาเป็นจำนวนไม่แน่นอน เป็นเงื่อนไขที่หลายๆ โรงพยาบาลนำมาใช้ แพทย์ต้องเข้าใจว่าเงินได้ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจนถึงขั้นต่ำนั้นนับเป็นเงินได้ประเภท 40(2) จึงไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากเท่า 40(6)

นอกจากนี้แล้ว อีกกรณีที่ควรให้ความสนใจคือการที่แพทย์เป็นลูกจ้างประจำอยู่แล้ว รับเงินเดือน เป็นรายได้ 40(1) แล้วทำงานเพิ่มนอกเวลาทำการปกติให้กับโรงพยาบาลที่เป็นนายจ้าง ซึ่งจะมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณคนไข้ หรือเวลาที่ทำงาน รายได้ที่โรงพยาบาลจ่ายให้แพทย์เพิ่มเติมนั้นจะต้องถือว่าเป็นค่าจ้างอันมาจากสัญญาจ้างแรงงานทั้งสิ้น ซึ่งก็คือเงินได้ 40(1) เช่นเดียวกับค่าทำงานล่วงเวลา ทั้งที่ความเป็นจริงแพทย์สามารถรับรายได้เป็น 40(6) ได้เพราะเป็นการประกอบโรคศิลป์ ดังนั้น แพทย์จึงควรทำสัญญาพิเศษกับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่ได้แสดงความเป็นลูกจ้าง นายจ้าง ระหว่าง แพทย์และโรงพยาบาล เพื่อให้แตกต่างจากการรับเงินได้ 40(1) เช่นสัญญาเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อประกอบโรคศิลป์ในนามแพทย์ ในการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยแพทย์เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาเอง และแบ่งให้โรงพยาบาล หรือให้โรงพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้แพทย์ เพื่อแบ่งให้โรงพยาบาลต่อไป แต่ประเด็นสำคัญ คือ แพทย์ต้องทราบว่าเงินได้ที่ถือว่าเป็น 40(6) ที่จะนำไปคำนวณภาษีนั้น จะเป็นเงินได้ทั้งจำนวนก่อนแบ่งให้กับโรงพยาบาล

นอกจากเรื่องประเภทของเงินได้แล้ว มีอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญครับ

เนื่องจากในประเทศไทย มีโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นอัตราภาษีก้าวหน้า ซึ่งหมายความว่า ฐานของภาษี (เงินได้สุทธิ) ยิ่งมาก อัตราภาษีจะยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน  เพราะฉะนั้น ถ้าแพทย์สามารถแยกเงินได้ของตนเอง ออกเป็น หลายๆ กอง หรือคำศัพท์ในทางภาษี ว่า “เพิ่มหน่วยภาษี” จะทำให้ภาษีที่ต้องเสียรวมกันแล้วลดลง เพราะช่วงเงินได้น้อยๆ ของแต่ละหน่วยภาษีจะเสียภาษีน้อย อีกทั้งยังมีส่วนที่ยกเว้นไม่เสียภาษีเลยอีกด้วย (เงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท) การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลเพื่อเพิ่มหน่วยภาษีใหม่ในการรับเงินได้บางส่วนจึงเป็นวิธีการวางแผนภาษีรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ

เราต้องเข้าใจก่อนว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือการที่บุคคล 2 คนขึ้นไป ทำกิจการร่วมกันโดยมุ่งหวังเพื่อให้ได้กำไรแบ่งมาแบ่งกัน ในขณะที่ คณะบุคคลมีลักษณะเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ ยกเว้น คณะบุคคลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหากำไร เช่น เพื่อทำการกุศล

ดังนั้นถ้าแพทย์ทำกิจการร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยยังมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแสวงหากำไร จึงต้องตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ใช่คณะบุคคล จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น อาจเป็นแพทย์ด้วยกัน หรือไม่ใช่ก็ได้ แต่ผู้เป็นหุ้นส่วน ต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วย เช่น เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน เป็นต้น

เงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญจะเป็นรูปแบบเดียวกับเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น เงินได้ที่ได้จากการรับจ้างทำงานให้ก็จะเป็นประเภท 40(2) ถ้าเป็นการให้บริการด้านวิชาชีพในการประกอบโรคศิลป์ เงินได้ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประเภท 40(6) ซึ่งการหักค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทของเงินได้ก็จะเหมือนกับที่กล่าวไปแล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดาก็ ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นสามารถหักค่าลดหย่อนได้เพียง ค่าลดหย่อนส่วนตัวของหุ้นส่วนได้คนละ 30,000 บาท รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท และค่าลดหย่อนจากเงินบริจาคได้เท่านั้น ไม่สามารถมีค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น LTF RMF เหมือนบุคคลธรรมดา

จากหลักการ เพิ่มหน่วยภาษี ที่กล่าวมาแล้วนั้น ถ้าแพทย์กำลังจะมีรายได้จากการเปิดสถานพยาบาล เพิ่มเติมจากรายได้ประจำ เช่น เงินเดือน แพทย์ควรจะหาหุ้นส่วนเพื่อร่วมกันจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นเพื่อดำเนินกิจการสถานพยาบาลนี้ เงินได้จากสถานพยาบาลก็จะเป็นประเภท 40(6) ของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ใช่ของแพทย์ หลังจากแพทย์แบ่งผลกำไรกันกับหุ้นส่วนแล้ว เงินได้นั้นก็ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ของแพทย์อีก ซึ่งจะทำให้ภาระภาษีน้อยลงกว่าการตั้งสถานพยาบาลด้วยตนเอง โดยไม่ตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ

หรือในกรณีที่แพทย์มีเงินได้ที่แบ่งได้ออกเป็นหลายส่วนที่แตกต่างกัน เช่น การรักษาโรคกลุ่มที่แตกต่างกัน หรือเป็นวิทยากรพิเศษ และคิดว่าสามารถจะร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อทำงานแต่ละส่วนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็สามารถตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ และยังได้ประโยชน์ทางภาษีเป็นผลพลอยได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่า กฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าแพทย์จะตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญได้ไม่เกินกี่ห้างฯ แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องมีเจตนาโดยสุจริตร่วมกันในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ต้องไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โดยการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหลายแห่งเพื่อแบ่งฐานภาษีทำให้เสียภาษีน้อยลง ต้องมีการดำเนินการร่วมกันในการประกอบกิจการตามความเป็นจริง มีการร่วมกันรับผิดชอบในกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญแพทย์ที่ตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หลายๆ ห้างฯ จึงต้องอธิบายเหตุผลให้สรรพากรได้อย่างชัดเจนว่ามีการร่วมกันประกอบการจริง และมีการแบ่งกำไรกันอย่างไร จึงจะสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายครับ

ปีที่ผ่านมา (2556) มีกฏหมายใหม่ที่สรรพากรเสนอขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาอันเนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เจตนาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นเพื่อประหยัดภาษีส่วนบุคคลของตนเอง โดยไม่มีการร่วมมือกับหุ้นส่วนจริง คือการให้ห้างหุ้นส่วนสามัญต้องเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว (ไม่ใช่อัตราก้าวหน้าเหมือนกรณีบุคคลธรรมดา) กฎหมายนี้มีโอกาสจะถูกนำมาบังคับใช้ในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งเบื้องต้น จะทำให้ประโยชน์ของการแยกหน่วยภาษีลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจาก หน่วยภาษีใหม่ที่เกิดขึ้น จะไม่ได้ประโยชน์จากอัตราก้าวหน้าอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าวิเคราะห์ในรายละเอียด จะพบว่า การตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ภายใต้กฎหมายใหม่ ก็ยังอาจให้ประโยชน์ทางภาษีได้ ในกรณีที่บุคคลมีเงินได้สุทธิ มากกว่า 1,000,000 บาท ซึ่งเป็นช่วงเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตรา 25% การที่เงินได้ส่วนที่เกินกว่านี้ไปเป็นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญที่ตั้งขึ้น ก็จะช่วยให้ประหยัดภาษี เพราะอัตราภาษีในส่วนนี้จาก 25% ก็จะกลายเป็น 20% 

สุดท้ายแล้วการวางแผนภาษีอย่าลืมยึดหลักสำคัญ 2 ข้อนะครับ คือจะต้อง “ถูกเงิน” พร้อมๆ ไปกับ “ถูกกฎหมาย” ด้วยครับ

Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.